top of page

รางวัลชนะเลิศการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์

   การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาที่นอกเหนือจากความรู้ด้านวิชาการจากในห้องเรียนแล้ว มหาวิทยาลัยยังส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านการแข่งขันด้านวิชาการ  ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ตรงและการปฏิบัติจริงให้แก่นักศึกษา โดยทำให้เกิดความคิดเชิงระบบ (system thinking) อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการประยุกต์ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ  ในขณะเดียวกันยังช่วยให้นักศึกษารู้จักการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบสนองสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ตลอดจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการต่อยอดการประกอบอาชีพในอนาคต

Pride

    ปีการศึกษา 2559    เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรม Demo Day โครงการ Digital Innovation Startup Apprentice Batch 2 หรือโครงการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจเริ่มต้น รุ่น 2 เพื่อเป็นเวทีให้น้องๆ นักศึกษาจำนวน 11 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจากทั้งหมด 22 ทีมในวันบูธแค้มป์ ร่วมพิชชิ่งนำเสนอผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเริ่มต้น ที่ผ่านการลีนสตาร์ทอัพ (Lean Startup) จากผู้เชี่ยวชาญในโครงการที่ติวเข้มทักษะการเป็นสตาร์ทอัพตลอด 2 เดือนเศษที่ผ่านมา (มิ.ย.-ส.ค. 60 ซึ่งผลงานจองตลาดนัดออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียเป็น 1 เป็น 3 ทีมโดนใจคณะกรรมการคว้าทุนพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม ทีมละ 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

         ทั้งนี้ “โครงการพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจเริ่มต้น หรือ Digital Innovation Startup Apprentice จัดขึ้นเป็นรุ่นที่ 2 เกิดจากความต้องการสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีสามารถพัฒนาผลงานต้นแบบนวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดได้ คือ ผลิตสินค้าหรือบริการขึ้นมาแล้วและสามารถขายได้ตามที่ต้องการโดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลาง หรือ Customer Centric รวมถึงธุรกิจไอทีและซอฟต์แวร์ด้วย ที่ลูกค้าต้องการใช้งานใดให้ทำธุรกิจตอบสนองสิ่งนั้น เรียกได้ว่าเป็นการ Lean Development Process ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจคนใช้นั่นเอง ซึ่งโครงการนี้ ซอฟต์แวร์พาร์ค ร่วมกับพันธมิตรผู้ดำเนินโครงการคือ ศูนย์ Casean จับมือพัฒนาโครงการขึ้นมา เพื่อฝึกประสบการณ์การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ทักษะการเป็นสตาร์ทอัพทักษะการพิชชิ่งนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกรรมการตัดสินในเวทีสตาร์ทอัพระดับชาติซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คมีความมุ่งมั่นจะดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ได้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสร้างนวัตกรรมสอดคล้องนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

    ผลงานจองพื้นที่ตลาดนัด : จองตลาดนัดออนไลน์ เป็นผลงานที่คว้ารางวัลชนะเลิศการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมีแนวคิดในการพัฒนาฝั่งผู้ดูแลตลาด จะมีระบบบริหารจัดการพื้นที่ตลาด การดูแลตลาดผ่านระบบออนไลน์ได้ การมีระบบแจ้งเตือนการจองและการชำระเงินของพ่อค้าแม่ค้า การตรวจสอบได้ว่าพื้นที่ตลาดมีที่ว่างหรือไม่ ขณะที่ฝั่งพ่อค้า-แม่ค้า จะสามารถจองพื้นที่ล๊อคตลาดผ่านระบบออนไลน์ได้มีระบบการชำระเงินออนไลน์มีหลักฐานการจองที่ชัดเจน และสามารถเช็คได้ว่าตลาดไหนมีพื้นที่ว่าง

bottom of page